วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

                                      

                                              ฮอกไกโด







ฮอกไกโด (Hokkaido) เป็นเกาะใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น ถือเป็นสวรรค์ของธรรมชาติ สามารถท่องเที่ยวได้ตลอดปี มีธรรมชาติที่ยังไม่ถูกทำลาย ทั้งภูเขา ที่ราบสูง แม่น้ำ ทะเลสาบ บ่อน้ำพุร้อน และชายฝั่งทะเล มีอากาศหนาวเย็นในฤดูหนาว มีหิมะที่ขาวละเอียดดุจแป้งฝุ่นและสกีรีสอร์ท ที่ดึงดูดนักเล่นสกีจากทั่วโลก ขณะที่ในฤดูใบไม้ผลิ ซากุระจะบานช้ากว่าภูมิภาคอื่นในญี่ปุ่น สามารถชมซากุระได้ในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม ส่วนฤดูร้อนอากาศจะไม่ร้อนเหมือนส่วนอื่น ๆ เพราะมีทุ่งดอกไม้ต่าง ๆ ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง และในฤดูใบไม้ร่วงใบไม้จะเปลี่ยนสีก่อนที่อื่น ๆ ในประเทศญี่ปุ่นเริ่มตั้งแต่กลางเดือนกันยายนจนถึงตุลาคม
โดยมี เมืองซัปโปโร (Sapporo) เป็นเมืองหลวงของฮอกไกโด ซึ่งในซัปโปโรมี สวนสาธารณะโอโดริ ซึ่งเป็นที่จัดแสดงงานเทศกาลหิมะที่มีชื่อเสียง สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกเข้ามาชมงานในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี นอกจากนี้ ยังมีหอนาฬิกาอันเก่าแก่ และที่ว่าการเมืองฮอกไกโด อีกทั้งย่านร้านค้าซุซุกิโนะ ซึ่งเป็นศูนย์การค้า และแหล่งจับจ่ายซื้อของที่มีชื่อเสียงของเมืองนี้
เมืองฮะโกะดะเตะ (Hakodate) เป็นเมืองท่าชายทะเลที่สำคัญ ที่ตั้งอยู่ทางใต้สุดของฮอกไกโด ในยามเช้าสามารถเที่ยวตลาดสดขายอาหารทะเลสด ๆ ที่มีให้ชิม ยามสายเที่ยวชมโบสถ์ และป้อมปราการโบราณในเมือง ยามเย็นนั่งกระเช้าลอยฟ้าขึ้นไปบนเขาฮะโกะดะเตะ ชมทิวทัศน์ยามราตรีที่สวยงามได้รอบทิศ ด้านเมืองอะซะฮิกะวะ (Asahikawa) ตั้งอยู่ใจกลางเกาะไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองซัปโปโร ใช้เวลาเดินทางประมาณหนึ่งชั่วโมงครึ่งโดยรถไฟด่วนจากเมืองซัปโปโร และจากเมืองอะซะฮิกะวะไปทางตะวันออกจะมี อุทยานแห่งชาติไดเซะทสุซัง ซึ่งมี บ่อน้ำแร่โซอุนเกียว ให้เพลิดเพลินในฤดูใบไม้เปลี่ยนสี

นอกจากนี้ ฮอกไกโดยังมีธรรมชาติอันสวยงามที่เป็นชายฝั่งทะเลใกล้ เมืองอะบะชิริ (Abashiri) มีธารน้ำแข็งให้ชมในฤดูหนาว และ คาบสมุทรชิเระโตะโกะ (Shiretoko) ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติด้วย อีกทั้งทะเลสาบอะคัง ทะเลสาบมาชูและ ทะเลสาบคุชิโระ และทางตะวันตกของฮอกไกโดมี เมืองโอะตะรุ (Otaru) เป็นเมืองท่าที่เคยเจริญรุ่งเรืองในฐานะเมืองค้าขาย ในช่วงศตวรรษที่ 19-20 รอบ ๆ เมืองจะมีคลองโอะตะรุ เป็นโบราณสถาน แสดงให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองในสมัยบุกเบิก มีถนนร้านซูชิที่สดที่สุดในโลกให้ลองลิ้มชิมรส









วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

 ซอฟต์แวร์
     
 มี 2 ประเภท
1.ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software )
ซอฟต์แวร์ระบบเป็นโปรแกรมที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ หน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบ คือการดำเนินงานพื้นฐานต่างๆของระบบคอมพิวเตอร์ เช่นรับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระแล้วแปรความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำข้อมูลไปแสดงผลเป็นหน้าจอภาพหรือนำออกไปยังเครื่องพิมพ์จัดการาข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูลบนหน่วยความจำรอง
ซอฟต์แวร์ระบบ(System Software )
 หรือโปรแกรมระบบที่รู้จักกันดีก็คือ DOS,Windows,Unix,Linux รวมโปรแกรมแปรคำสั่งที่เขียนในภาษาระดับสูง เช่น ภาษา Basic,Fortran,Pascal,Cobol,C เป็นต้น
นอกจากนี้โปรแกรมที่ใช้ในการตรวจสอบระบบเช่น Norton's Utilities ก็นับเป็นโปรแกรมสำหรับระบบด้วยเช่นกัน
หน้าที่ของซอฟต์แวร์ระบบ
1) ใช้ในการจัดการหน่วยรับเข้าและหน่วยส่งออก เช่นรับรู้การกดแป้นต่างๆ บนแผงแป้นอักขระ ส่งรหัสตัวอักษรออกจากจอภาพหรือเครื่องพิมพ์ ติดต่อกับอุปกรณ์ รับเข้าและส่งออกอื่นๆ เช่นเมาส์ ลำโพงเป็นต้น
2)ใช้ในการจัดการหน่วยความจำ เพื่อนำข้อมูลจากแผ่นบันทึกมาบันจุยังหน่วยความจำหลัก หรือในทำนองกลับกัน คือนำข้อมูลจากหน่วยความจำหลักมาเก็บไว้แผ่นบันทึก
3)ใช้เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้นเช่น การขอดูรายการในสารบบ (directory) ในแผ่นบันทึก การทำสำเนาแฟ้มข้อมูล
ซอฟต์แวร์ระบบพื้นฐานที่เห็นกันทั่วไปแบ่งออกเป็นระบบปฏิบัติการและตัวแปลภาษา

ประเภทของซอฟต์แวร์ระบบ
ซอฟต์แวร์ระบบ แบ่งเป็น ประเภทคือ
1.ระบบปฏิบัติการ (Oparating System:os)
2.ตัวแปลภาษา
1. ระบบปฏิบัติการ หรือที่เรียกย่อๆ ว่า โอเอส (Oparating System:os) เป็น
ซอฟต์แวร์ใช้ในการดูแลระบบ คอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีซอฟตืแวร์ระบบปฏิบัติการนี้ ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันมากและเป็นที่รูจักกันดีเช้น ดอส วินดดวส์ ยูนิกซ์ ลีนุกซ์ และแมคอินทอช เป็นต้น

1.ระบบปฏิบัติการ(Oparating System:os)




1) ดอส (Disk Operating System:DOS) เป็นซอฟต์แวร์จัดระบบงานที่พัฒนามานานแล้ว การใช้งานจึงใช้คำสั่งเป็นตัวอักษร ดอสเป็นซอฟต์แวร์ที่รู้จักกันดีในหมู่ผู้ใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในอดีต ปัจจุบันระบบปฏิบัติการดอสนั้มีการใช้งานน้อยมาก

1.ระบบปฏิบัติการ(Oparating System:os)


2) วินโดวส์ (Windows) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาต่อจากดอส โดยให้ผู้ใช้สามารถทำงานได้จากเมาส์มากขึ้นแทนการใช้แผงแป้นอักขระ เพียงอย่างเดียวระบบปฏิบัติการวินโดวส์ยังสามารถทำงานพร้อมกันได้ โดยงานแต่ระงานจะอยู่ในกรอบช่องหน้าต่างใช้งานเน้นรูปแบบกราฟิก ผุ้ใช้งานสามารถใช้เมาส์เลื่อนตัวชี้เพื่อเลื่อกตำแหน่งที่ปรากกบนจอภาพทำให้ใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ง่ายระบบปฏิบัติการวินโดวส์จึงได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน
1.ระบบปฏิบัติการ(Oparating System:os)

3) ยูนิกซ์ (Unix) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาตั้งแต่ครั้งใช้กลับเครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ ที่เป็นเทคโนโลยีแบบเปิด (open system) ซึ่งเป็นแนวคิดที่ผู้ใช้ ไม่ต้องผูกติดกับระบบ ยูนิกซ์ยังถูกออกแบบเพื่อการตอนสนองการใช้งานใช้ได้หลายคนในเวลาเดียวกัน ผู้ใช้ (multiusers) และสามารถทำงานได้หลายๆงานในเวลาเดียวกัน ระบบภาระกิจ (multitasking) ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์จึงนิยมใช้กับเครื่องที่เชื่อมโยงเป็นเครือข่ายเพื่อใช้งานร่วมกันหลายๆ  เครื่องพร้อมกัน
1.ระบบปฏิบัติการ(Oparating System:os)

4) ลีนุกซ์ (linux) เป็นระบบปฏิบัติงานที่พัฒนามาจากระบบยูนิกซ์ โปรแกรมต้นฉบับให้นักพัฒนาช่วยกันพัฒนาคุณสมบัติระบบปฏิบัติการลีนุกซ์เป็นที่นิยมกันมากขึ้นในปัจจุบัน ในระบบต่างๆทำงานแบบลีนุกซ์กันเป็นจำนวนมากโดยอย่างยิ่งโปรแกรมกลุ่มกูส์นิว (GNU) และสิ่งสำคัญที่สุดก็คือระบบลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการประเภทแจกฟรี(Free Ware) ผูใช้สามารถใช้งานได้โดยได้เลยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
ระบบลีนุกซ์ สามารถทำงานได้บนซีพียูหลายตระกูล เช่น อินเทล (PC Intel) fb0b9v] (Digital Alpha Computer) และสันสปาร์ค ถึงแม้ในขณะนี้ลีนุกซืยังไมสามารถแทนที่ระบบปฏิบัติการวินโดวซ์ บนซีพีได้ทั้งหมดก็ตามแด่ผู้ใช้จำนวนมากได้หันมาใช้และช่วยพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนรีนุกส์กันมากขึ้น
1.ระบบปฏิบัติการ(Oparating System:os)

5) แมคอินทอช (macintosh) เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ แมคอินทอช ส่วนมากนำมาใช้แบบกราฟิก
นอกจากระบบปฏิบัติการยังมีระบบปฏิบัติการอีกมาก เช่นระบบปฏิบัติการในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เน็ตแวร์ นอกจากนี้ยังมีระบบปฏิบัติการที่ใช้เฉพาะกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นมาใหม่ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ในสถาบันการศึกษา
ชนิดของระบบปฏิบัติการ สามารถจำแนกออกเป็นชนิดด้วยกันคือ
1. ประเภทใช้งานเดียว (Single-tasking)
ระบบปฏิบัติการประเภทนี้จะกำหนดให้คอมพิวเตอร์ใช้งานได้ครั้งละหนึ่งงานเท่านั้น ใช้ในเครื่องขนาดเล็กอย่างไมโครคอมพิวเตอร์เช่น ระบบปฏิบัติการดอส เป็นต้น
2.ประเภทใช้งานหลายงาน (Multi-tasking)
ระบบปฏิบัติการประเภทนี้สามารถใช้งานได้หลายงานในเวลาเดียวกัน เช่นระบบปฏิบัติการ Windows98 ขึ้นไป และ UNIX เป็นต้น
3.ประเภทใช้งานหลายคน  (Multi-user)
.ในหน่วยงานบางแห่งอาจใช้คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ทำหน้าที่สามารถใช้พร้อมกันได้หลายคนแต่ละคนจะมีสถานีงานของตนเองเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ จึงต้องใช้ระบบปฏิบัติการที่มีความสามารถสูง เพื่อให้ผูใช้ทุกคนสามารถทำงานเสร็จในเวลาเช่นระบบปฏิบัติการ Windows NT และ UNIX เป็นต้น
2. ตัวแปลภาษา
การพัฒนาซอฟแวร์ต้องอาศัยซอฟแวร์ที่ใช้การแปลภาษาระดับสูงเพื่อแปลภาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง
   ภาษาระดับสูงมีหลายภาษาซึ่งสร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เขียนโปรแกรมเขียนชุดคำสั่ง ได้ง่าย เข้าใจได้
ภาษาระดับสูงที่พัฒนาขึ้นทุกภาษาต้องมีตัวแปร ซึ้งภาษาระดับสูงได้แก่ basic.pascal. C และภาษาโลโก เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังมีภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันอีกมากได้แก่ Fortran.Cobol.และภาษาอาร์พีจี
    

  2.2 ซอฟต์แวร์ประยุกต์(Application Software)
ซอฟต์แวร์ที่ใช้ทำงานร่วมกันคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้งานเฉพาะด้านเช่น การจัดพิมพ์รายงาน การนำเสนองาน หรือการออกแบบเว็บไซต์ เป็นต้น
ประเภทของซอฟต์แวร์ประยุกต์
แบ่งตามลักษณะการผลิต จำแนกได้เป็น2ประเภท คือ

 1.ซอฟแวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้เองโดยเฉพาะ
(Proprietary Software)

 2.ซอฟแวร์ที่หาซื่อได้ทั่วไป (Packaged Software)

มีโปรแกรมเฉพาะ และโปรแกรมมาตรฐาน (Stannbard Package)
ประเภทของซอฟแวร์ประยุกต์
แบ่งตามกลุ่มใช้งาน จำแนกได้กลุ่มใหญ่ๆ
1.กลุ่มการใช้งานทางธุรกิจ
(Business)
2.กลุ่มด้านกราฟิกและมัลติมีเดีย (Graphic Multimedia)
3.กลุ่มการใช้งานบนเว็บ (Web and Communications)
กลุ่มการใช้งานทางด้านธุรกิจ(Business)
ซอฟแวร์กลุ่มนี้ ถูกนำใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการนำเสนองานและการบันทึกนัดหมายต่างๆ ตัวอย่างเช่น :โปรแกรมประมวลคำ อาทิ Microsoft . Word. Sun Staroffice Writer
โปรแกรม ตารางคำนวณ อาทิ Microsoft  Excel.Sun Staroffice Cals
โปรแกรมนำเสนองาน อาทิ Microsoft Powerpont.Sun Staroffice Impress
กลุ่มการใช้งานด้านกราฟิกและมัลติมีเดีย
ซอฟแวร์กลุ่มนี้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยจัดการด้านงานกราฟิกและมัลติมีเดียเพื่อใช้งานมากขึ้น เช่นการตกแต่ง วาดรูป ปรับเสียง ตัดต่อ ภาพเคลื่อนไหว เป็นต้น
โปรแกรมงานออกแบบ อาทิ Microsoft  Visio Professional
โปรแกรมตกแต่งภาพ อาทิ CorelDRAW.Adobe Photoshop
โปรแกรมตัดต่อวิดีโอและเสียง Adobe Premiara.Pinnacle studio DV
โปรแกรมสร้างสื่อมัลติมีเดีย อาทิ Adobe Authorware .Toolbook Instructor. Adobe Director
โปรแกรมสร้างเว็บ อาทิ Adobe Flash. Adobe Dreamwerver
กลุ่มการใช้งานบนเว็บและการติดต่อสื่อสาร
เมื่อเกิดการเติบโตของเครือข่ายอินเตอร์เน็ตซอฟแวร์กลุ่มนีไดพัฒนาใช้งานเฉพาะเพิ่มมากขึ้น เช่น โปรแกรมการตรวจเช็คอีเมล การท่องเว็บ การจัดการดูแลเว็บ เป็นต้น
โปรแกรมจัดการอีเมล อาทิ Microsoft Outlook.Mozzila Thunderbird
โปรแกรมท่องเว็บ อาทิMicrosoft   Internet Explorer Mozzila Firefox
โปรแกรมประชุมทางไกล(Video Confarence) อาทิMicrosoft   Netmeeting
โปรแกรมส่งข้อความด่วน (Internet Messaging) อาทิ MSN Messenger/Windows Messanger.ICQ
โปรแกรมสนทนาบนอินเทอร์เน็ต อาทิ PIRCH.MIRCH
ความจำเป็นของการใช้ซอฟแวร์
การใช้ภาษาเครื่องนี้ ถึงแม้ว่าคอมพิวเตอร์จะเข้าใจได้ทันที แต่มนุษย์ผู้ใช้จะมีข้อยุ่งยากมากเพราะเข้าใจและจดจำได้ยาก จึงมีผู้สร้างภาษาคอมพิวเตอร์ในรูปแบบที่เป็นตัวอักษร เป็นประโยคข้อความ เรียกว่าภาษาระดับสูง ภาษาระดับสูงมีมากมาย บางภาษามีความเหมาะสมกับการใช้สั่งงานการคำนวณทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์บางภาษามีความเหมาะสมไว้ใช้สั่งงานทางด้านการจัดการข้อมูล
วันพฤหัสบดี ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558
ใบงาน เรื่องอินเตอร์เน็ต

ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้

1.อินเตอร์เน็ต คือ

  เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลาย ๆ เครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล (protocol) ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลาย ๆ ทาง อาทิ อีเมล เว็บบอร์ด และสามารถสืบค้นข้อมูลและข่าวสารต่าง ๆ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้

2.จงอธิบายพัฒนาการของอินเตอร์เน็ตมาพอสังเขป

  มีพัฒนาการมาจาก อาร์พาเน็ต (ArpA net เรียกสั้น ๆ ว่า อาร์พา) ที่ตั้งขึ้นในปี 2512 เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของกระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกา ที่ใช้ในงานวิจัยด้านทหาร (ARP : Advanced Research Project Agency)
ปี 2515 หลังจากที่เครือข่ายทดลองอาร์พาประสบความสำเร็จอย่างสูง และได้มีการปรับปรุงหน่วยงานจากอาร์พามาเป็นดาร์พา(Defense Advanced Research Project Agency: DARPA) และในที่สุดปี 2518 อาร์พาเน็ตก็ขึ้นตรงกับหน่วยการสื่อสารของกองทัพ (Defense Communication Agency)
ในปี 2526 อาร์พาเน็ตก็ได้แบ่งเป็น 2 เครือข่ายด้านงานวิจัย ใช้ชื่ออาร์พาเน็ตเหมือนเดิม ส่วนเครือข่ายของกองทัพใช้ชื่อว่า มิลเน็ต (MILNET : Millitary Network) ซึ่งมีการเชื่อมต่อโดยใช้ โพรโตคอล TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet) เป็นครั้งแรก
ในปี 2528 มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติของอเมริกา (NSF) ได้ ให้เงินทุนในการสร้างศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ 6 แห่ง และใช้ชื่อว่า NSFNET  และพอมาถึงปี 2533 อาร์พารองรับภาระที่เป็นกระดูกสันหลัง (Backbone) ของระบบไม่ได้ จึงได้ยุติอาร์พาเน็ต และเปลี่ยนไปใช้ NSFNET และเครือข่ายขนาดมหึมา   จนถึงทุกวันนี้ และเรียกเครือข่ายนี้ว่า อินเตอร์เน็ต
สำหรับประเทศไทย นั้น อินเตอร์เน็ตเริ่มมีบทบาทอย่างมากในช่วงปี 2530-2535 โดยเริ่มจากการเป็นเครือข่ายในระบบคอมพิวเตอร์ระดับมหาวิทยาลัย (Campus Network) แล้วจึงเชื่อมต่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ตอย่างสมบูรณ์เมื่อ เดือนสิงหาคม 2535
ในปี 2538 ก็มี การเปิดให้ บริการอินเตอร์เน็ตในเชิงพาณิชย์ (รายแรก คือ อินเตอร์เน็ตเคเอสซี) ซึ่งขณะนั้น เวิร์ลด์ไวด์เว็บกำลังได้รับความนิยมอย่างมากในอเมริกา
อินเตอร์เน็ต บางครั้งก็มีการเรียกย่อเป็น เน็ต (Net) หรือ The Net ด้วยเช่นเดียวกัน อีกคำหนึ่งที่หมายถึงอินเตอร์เน็ตก็คือ เว็บ (Web) และ เวิร์ลด์ไวด์เว็บ (World – Wide Web) (จริง ๆ แล้ว เว็บเป็นเพียงบริการหนึ่งของอินเตอร์เน็ตเท่านั้น)

3.การเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ตต้องทำอย่างไรบ้างการเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ต
เมื่อท่านต้องการเข้าใช้บริการต่าง ๆในอินเตอร์เน็ตนั้นท่านจำเป็นต้องทำการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต ซึ่งการเชื่อมต่อที่นิยมกันมีอยู่สามประเภทดังนี้
เชื่อมต่อกันโดยตรง(Direct conection)
เชื่อมต่อผ่านเครือข่ายโทรศัพท์แบบ Dialup IP
เชื่อมต่อผ่านเครือข่ายโทรศัพท์แบบ Terminal Emulation

4.จงบอกหน้าที่ของอุปกรณ์ในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตต่อไปนี้

  4.1  เครื่องคอมพิวเตอร์
       ทำหน้าที่เป็นเครื่องจักรแบบสั่งการได้ที่ออกแบบมาเพื่อดำเนินการกับลำดับตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์หรือคณิตศาสตร์ โดยอนุกรมนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อพร้อม ส่งผลให้คอมพิวเตอร์สามารถแก้ปัญหาได้มากมาย

คอมพิวเตอร์ถูกประดิษฐ์ออกมาให้ประกอบไปด้วยความจำรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเก็บข้อมูล อย่างน้อยหนึ่งส่วนที่มีหน้าที่ดำเนินการคำนวณเกี่ยวกับตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์ และตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ และส่วนควบคุมที่ใช้เปลี่ยนแปลงลำดับของตัวดำเนินการโดยยึดสารสนเทศที่ถูกเก็บไว้เป็นหลัก อุปกรณ์เหล่านี้จะยอมให้นำเข้าข้อมูลจากแหล่งภายนอก และส่งผลจากการคำนวณตัวดำเนินการออกไป

หน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์มีหน้าที่ดำเนินการกับคำสั่งต่างๆ ที่คอยสั่งให้อ่าน ประมวล และเก็บข้อมูลไว้ คำสั่งต่างๆ ที่มีเงื่อนไขจะแปลงชุดคำสั่งให้ระบบและสิ่งแวดล้อมรอบๆ เป็นฟังก์ชันที่สถานะปัจจุบัน

คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกถูกพัฒนาขึ้นในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 (ค.ศ. 1940 – ค.ศ. 1945) แรกเริ่มนั้น คอมพิวเตอร์มีขนาดเท่ากับห้องขนาดใหญ่ ซึ่งใช้พลังงานมากเท่ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (พีซี) สมัยใหม่หลายร้อยเครื่องรวมกัน[4]

คอมพิวเตอร์ในสมัยใหม่นี้ผลิตขึ้นโดยใช้วงจรรวม หรือวงจรไอซี (Integrated circuit)โดยมีความจุมากกว่าสมัยก่อนล้านถึงพันล้านเท่า และขนาดของตัวเครื่องใช้พื้นที่เพียงเศษส่วนเล็กน้อยเท่านั้น คอมพิวเตอร์อย่างง่ายมีขนาดเล็กพอที่จะถูกบรรจุไว้ในอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ และคอมพิวเตอร์มือถือนี้ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ขนาดเล็ก และหากจะมีคนพูดถึงคำว่า "คอมพิวเตอร์" มักจะหมายถึงคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ของยุคสารสนเทศ อย่างไรก็ดี ยังมีคอมพิวเตอร์ชนิดฝังอีกมากมายที่พบได้ตั้งแต่ในเครื่องเล่นเอ็มพีสามจนถึงเครื่องบินบังคับ และของเล่นชนิดต่างๆ จนถึงหุ่นยนต์อุตสาหกรรม

  4.2  โมเด็ม
       ทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณ คอมพิวเตอร์ให้สามารถเชื่อมคอมพิวเตอร์ที่อยู่ระยะไกลเข้าหากันได้ด้วยการผ่านสายโทรศัพท์ โดยโมเด็ม จะทำหน้าที่แปลงสัญญาณ ซึ่งแบ่งออกเป็นทั้งภาคส่ง และภาครับ โดยภาคส่งจะทำการแปลงสัญญาณคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณโทรศัพท์ (Digital to Analog) ในขณะที่ภาครับนั้นจะทำการแปลงสัญญาณโทรศัพท์กลับมาเป็นสัญญาณคอมพิวเตอร์ (Analog to Digital) ดังนั้นในการเชื่อมต่อข่ายระยะไกลๆ เช่น อินเทอร์เน็ต จึงจำเป็นต้องใช้โมเด็ม โดยโมเด็มมีทั้งแบบภายใน (Internal Modem) ที่มีลักษณะเป็นการ์ด, โมเด็มภายนอก (External Modem) ที่มีลักษณะเป็นกล่องแยกออกต่างหาก และรวมถึงโมเด็มที่เป็นแบบ PCMCIA ที่มักใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค นอกจากนี้แล้ว ก็ยังมีระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network Operating System) ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ สำคัญตัวหนึ่งในการทำทั้งเครื่องศูนย์บริการและเครื่องลูกข่ายสามารถสื่อสารติดต่อกันได้ รวมทั้งการจัดการทรัพยากรให้สามารถใช้ร่วมกันได้และการควบคุมระบบความปลอดภัยบนเครือข่าย

  4.3  โทรศัพท์
       ทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์การสื่อสารโทรคมนาคมที่อนุญาตให้ ผู้ใช้สองคนหรือมากกว่า สามารถสนทนากัน เมื่อพวกเขาไม่ได้อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกันที่จะได้ยินเสียงกันโดยตรง เครื่องโทรศัพท์จะแปลงเสียง, โดยทั่วไปเป็นเสียงมนุษย์, ให้เป็นสัญญาณ อิเล็กทรอนิกส์ที่เหมาะสำหรับการส่งผ่านทางสายเคเบิลหรือผ่านสื่ออื่น ๆในระยะทางไกล, และ เมื่อถึงผู้รับปลายทาง จะเปลี่ยนสัญญาณดังกล่าวกลับให้อยู่ในรูปแบบที่จะสามารถเข้าใจได้ คำว่าโทรศัพท์ได้รับการดัดแปลงเป็นคำศัพท์หลายภาษา มันมาจากกรีก: τῆλε ,Tele แปลว่าไกล และ φωνή , แปลว่าเสียง เมื่อรวมกัน หมายถึงเสียงที่อยู่ห่างไกล สำหรับระบบโทรศัพท์ซึ่งเป็นเทคโนโลยีนั้น ภาษาอังกฤษจะใช้คำว่า Telephony

  4.4  ซอฟต์แวร์
       ทำหน้าที่ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงหมายถึงลำดับขั้นตอนการทำงานที่เขียนขึ้นด้วยคำสั่งของคอมพิวเตอร์ คำสั่งเหล่านี้เรียงกันเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จากที่ทราบมาแล้วว่าคอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่ง การทำงานพื้นฐานเป็นเพียงการกระทำกับข้อมูลที่เป็นตัวเลขฐานสอง ซึ่งใช้แทนข้อมูลที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพ หรือแม้แต่เป็นเสียงพูดก็ได้
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์จึงเป็นซอฟต์แวร์ เพราะเป็นลำดับขั้นตอนการทำงานของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งทำงานแตกต่างกันได้มากมายด้วยซอฟต์แวร์ที่แตกต่างกัน ซอฟต์แวร์จึงหมายรวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกประเภทที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้
การที่เราเห็นคอมพิวเตอร์ทำงานให้กับเราได้มากมาย เพราะว่ามีผู้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาให้เราสั่งงานคอมพิวเตอร์ ร้านค้าอาจใช้คอมพิวเตอร์ทำบัญชีที่ยุ่งยากซับซ้อน บริษัทขายตั๋วใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในระบบการจองตั๋ว คอมพิวเตอร์ช่วยในเรื่องกิจการงานธนาคารที่มีข้อมูลต่าง ๆ มากมาย คอมพิวเตอร์ช่วยงานพิมพ์เอกสารให้สวยงาม เป็นต้น การที่คอมพิวเตอร์ดำเนินการให้ประโยชน์ได้มากมายมหาศาลจะอยู่ที่ซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์จึงเป็นส่วนสำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ หากขาดซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถทำงานได้ ซอฟต์แวร์จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น และมีความสำคัญมาก และเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่ทำให้ระบบสารสนเทศเป็นไปได้ตามที่ต้องการ

  4.5  ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต
       ทำหน้าที่บริษัทที่ให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ต[1] โดยผู้ให้บริการจะเชื่อมโยงลูกค้าเข้ากับเทคโนโนยีรับส่งข้อมูลที่เหมาะสมในการส่งผ่านอุปกรณ์โพรโทคอลอินเทอร์เน็ต อย่างเช่น ไดอัล, ดีเอสแอล, เคเบิลโมเด็ม, ไร้สาย หรือการเชื่อมต่อระบบไฮสปีด

ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตอาจให้บริการ เปิดบัญชีชื่อผู้ใช้ในอีเมล ติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นโดยรับ-ส่ง ผ่านเซิร์ฟเวอร์ของผู้ให้บริการ ในบางครั้งผู้ให้บริการทางอินเทอร์เน็ตอาจให้บริการเก็บไฟล์ข้อมูลระยะไกล รวมถึงเรื่องเฉพาะทางอื่น เป็นต้น

5.อธิบายความหมายของคำศัพท์ต่อไปนี้
   1.1 E-Mail
       กล่องจดหมาย

   1.2 FTP
       แลกเปลี่ยนไฟล์งาน

   1.3 Search Engine
  สืบค้นข้อมูล

   1.4 Blog
   เว็บไซด์รูปแบบหนึ่ง ที่มีลักษณะรูปร่างหน้าตาคล้ายๆกับการเขียนไดอารี่ หรือ บันทึกส่วนตัว ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในปัจจุบัน เนื่องจากเราใช้ฟรี ไม่ต้องเสียเงิน

   1.5 Chat 
       บทสนทนา

6.ที่อยู่ของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail Address)

คือ เป็นวิธีการติดต่อสื่อสารกันบน Internet
   ใช้สำหรับ
   ส่งข้อความทางอีเมล
   ประกอบด้วย
   1  อีเมล์สำนักงาน
   2  อีเมล์โดย ISP
   3  อีเมล์ที่ให้บริการฟรีทั่วไป

7.การโอนย้ายแฟ้มข้อมูลระหว่างกัน สามารถทำได้อย่างไร

  การโอนย้ายข้อมูล สามารถนำข้อมูลของผู้ใช้ โอนย้ายให้กับผู้อื่น หรือนำไปไว้ในเครื่องบริการที่เชื่อมต่ออยู่บนอินเทอร์เน็ตที่อื่น ซึ่งผู้ใช้มีสิทธิ์ในการใช้
    ซอฟต์แวร์โอนย้ายข้อมูลนิยมใช้กัน 2 ชนิด ได้แก่  WS_FTP  และ Cute  FTP ซึ่งในที่นี้จะขอนำเสนอวิธีการใช้งานซอฟต์แวร์ WS_FTP เพราะมีวิธีการติดตั้งไม่ยุ่งยากและใช้งานง่าย
    การโอนย้ายข้อมูลโดยใช้ซอฟต์แวร์ WS_FTP  ที่ติดตั้งแล้ว ทำได้โดยเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแล้วปฏิบัติดังนี้
1.ดับเบิลคลิกที่ปุ่มคำสั่งของซอฟต์แวร์ WS_FTP  เพื่อเปิดใช้งาน
2.เลือกข้อมูลที่ต้องการโอนย้าย
3.คลิกปุ่มคำสั่ง ลูกศรชี้ไปทางขวา
4.แสดงการโอนย้ายสำเร็จ

8.จงบอกหลักการค้นหาข้อมูลของ Search Engine
1. การตรวจค้นหาข้อมูล เพื่อแยกประเภทของข้อมูลที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกัน
2. รวบรวมข้อมูล ที่ได้แยกเนื้อหาที่มีความเกี่ยวข้องกันไว้ที่เดียวกัน
3. แสดงผลการค้นหาข้อมูล ที่มีความเหมือนและมีความคล้ายคลึงกัน

พร้อมคำอธิบายประกอบ

 เสิร์ชเอนจิน (search engine) หรือ โปรแกรมค้นหาและคือ โปรแกรมที่ช่วยในการสืบค้นหาข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต โดยครอบคลุมทั้งข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เพลง ซอฟต์แวร์ แผนที่ ข้อมูลบุคคล กลุ่มข่าว และอื่น ๆ ซึ่งแตกต่างกันไปแล้วแต่โปรแกรมหรือผู้ให้บริการแต่ละราย เสิร์ชเอนจินส่วนใหญ่จะค้นหาข้อมูลจากคำสำคัญ (คีย์เวิร์ด) ที่ผู้ใช้ป้อนเข้าไป จากนั้นก็จะแสดงรายการผลลัพธ์ที่มันคิดว่าผู้ใช้น่าจะต้องการขึ้นมา ในปัจจุบัน เสิร์ชเอนจินบางตัว เช่น กูเกิลจะบันทึกประวัติการค้นหาและการเลือกผลลัพธ์ของผู้ใช้ไว้ด้วย และจะนำประวัติที่บันทึกไว้นั้น มาช่วยกรองผลลัพธ์ในการค้นหาครั้งต่อ ๆ ไป

9.จงบอกขั้นตอนการค้นหาข้อมูลด้วย Search Engine
   1 ทำการเปิดเว็บไซต์ที่ให้บริการ http://www.google.co.th/
   2. เลือกหัวข้อที่ต้องการค้น ในที่นี้จะเลือกหัวข้อ “เว็บ”
   3. พิมพ์ keyword (ข้อความ) ที่ต้องการสืบค้นลงในช่อง text box
   4. กดที่ปุ่ม “ค้นหา”
   5. ระบบจะทำการค้นหาเว็บไซต์ที่ตรงกับ keyword ที่ต้องการ และแสดงออกมาในรูปแบบของลิ้งค์

10.การค้นหาคำในหน้าเว็บเพจด้วย Browser สามารถทำได้อย่างไร
   สืบค้นโดยการเชื่อมโยงการค้นจากหลาย ๆ Search Engine แล้วแสดงผลลัพธ์ออกมาในมาตรฐานเดียวกัน การแสดงผลมักจะอ้างอิงถึงที่มาของ Search Engine นั้นๆ การสืบค้นด้วย Meta-search engines  จึงทำให้เราไม่ต้องเสียเวลาในการสืบค้น Search Engine ทีละแหล่ง ดังนั้น จึงเหมาะสมกับการสืบค้นที่ต้องการสืบค้นจากหลาย ๆ แหล่งสืบค้นในเวลาเดียวกัน
Meta-search engines ที่นิยม เช่น Dogpile (http://www.dogpile.com), Clusty (http://ww.clusty.com) และ MetaCrawler (http://www.metacrawler.com)

11.จงยกตัวอย่างโปรแกรมสนทนาบนเครือข่ายมา 1 โปรแกรม พร้อมทั้งอธิบายการทำงานของโปรแกรมนั้นๆ

1.  E-mail หรือไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์